วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ท่าเรือของนครแม่สอด


ท่าเรือนครแม่สอด

เมื่อได้ทราบความหมายของท่าเรือที่แท้จริงแล้ว   หลายท่านคงสงสัยเลยว่าแล้วท่าเรือของนครแม่สอดนี้  มีความเป็นมาและลักษณะอย่างไร  เพราะหลายคนคงต้องจินตนาการว่า  ท่าเรือต้องใหญ่มาก  น้ำต้องลึกเหมาะสำหรับเรือบรรทุกสินค้าล่องเรือได้  หรือเป็นแค่ท่าเรือที่ใช้ในการรับ-ส่งคนในการข้ามฝั่งเท่านั้นเองหรือไม่   

ในสมัยอดีตช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ   ได้เข้ามาปกครองประเทศพม่านั้นมีความเจริญอย่างมากมาย  ทั้งด้านการค้าขายสินค้าในการอุปโภคบริโภคที่มีพร้อมในเมียวดี   ซึ่งสินค้าก็ได้ถูกนำมาจากประเทศอังกฤษนำเข้าสู่อินเดียและพม่าเพื่อนำมาขาย   และช่วงนั้นเองก็มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศอังกฤษอีกด้วย   ในช่วงเวลาขณะนั้นเองแม่สอดของเราเป็นเมืองเล็กๆ ที่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดตากมาก  เมื่อต้องการที่จะซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ก็ะข้ามแม่น้ำเมย(ข้ามท่า)ไปยังประเทศพม่า เมืองเมียวดีกันเป็นส่วนมาก   เนื่องจากว่าในสมัยอดีตระยะทางจากแม่สอดไปจังหวัดตาก   เส้นทางการคมนาคมลำบากไม่สะดวกไม่มีถนนหนทางที่ดี   ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 2 วัน  อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นไข้ป่าแล้วเสียชีวิตขณะการเดินทาง   เพราะเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางไปจังหวัดตากเข้าสู่ตัวเมืองนั้นเป็นป่าอันตราย  ดังนั้นคนแม่สอดจึงเลือกที่จะไปซื้อสินค้าที่ประเทศพม่า เมืองเมียวดีมากกว่า   เพราะระยะทางในการเดินทางมันใกล้และสะดวก  อีกทั้งสินค้าก็มีให้เลือกอย่างมากมายที่นำมาจากอังกฤษกับอินเดีย
ต่อมาก็ได้เริ่มมีการค้าขายริมท่า โดยให้มีการค้าขายสินค้านั่งขายอยู่ริมแม่น้ำเมย(ริมท่า)เท่านั้น   ซึ่งไม่ต้องเข้ามาขายในตัวเมืองแม่สอดอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้ตามท้องตลาด  ยกตัวอย่างเช่น  ตลอดสดพาเจริญ   ที่เราสามารถสังเกตเห็นคนพม่าเข้ามาขายของในตัวเมืองแม่สอดอย่างมากล้น  ในสมัยอดีตที่มีการค้าขายริมท่าก็จะมีกฎระเบียบเวลาการขายที่ชัดเจน   มีการควบคุมดูแลของตำรวจตระเวนชายแดนที่เข้มงวด   มีการชั่งวัดน้ำหนักเป็น  ปัน  และชั่ง  ซึ่งเป็นหน่วยวัดของพม่า  ซึ่งจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์การขายค้าริมท่าหรือการค้าขายทางท่าเรือ   ได้มีมายาวนานแล้วจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการค้าขายทางท่าเรือมากไม่น้อยกว่าเดิม 
  

ท่าเรือของนครแม่สอด คือ ท่าที่ใช้ในการข้ามไปมาระหว่างประเทศไทย นครแม่สอดกับประเทศพม่า จังหวัดเมียวดี  เป็นสถานที่ใช้ในการถ่ายลำของสินค้าและพักสินค้า  ท่าเรือของนครแม่สอดมีท่าเรือประจำ16  ท่าเรือ  มีท่าเรือไม่ประจำมี 5-6 ท่าเรือ ส่วนท่าเรือใหญ่ๆ ที่จะมีสินค้าข้ามประจำ 22 ท่าเรือ  ท่าเรือเล็กๆ คือ ท่าเรือที่ไม่ประจำจะมี 30-40 ท่าเรือ จะมีเริ่มตั้งแต่เขตจังหวัดตาก  อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด  อำเภอพบพระ  อำเภออุ้มผาง จนถึงอำเภอท่าสองยาง   ซึ่งท่าเรือก็มีด้วยกันได้ 2 ลักษณะ คือ   
1. ท่าเรือขนส่งสินค้า

            2. ท่าเรือขนส่งผู้โดยสารข้ามฝาก

1.   ท่าเรือขนส่งสินค้า คือ  ท่าเรือที่ส่งสินค้าจากฝั่งประเทศไทยไปยังพม่า  และเป็นท่าเรือที่รับสินค้าจากฝั่งพม่าเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน ยกตัวอย่าง  ท่า16  ท่า9 ท่า8 จะเป็นท่าที่มีการขนส่งสินค้าอย่างคึกคัก


ท่าเรือขนส่งสินค้า  ท่า19
ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dhamma-dd&month=12-2009&date=17&group=10&gblog=3



ท่าเรือขนส่งสินค้า  ท่า19
ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dhamma-dd&month=12-2009&date=17&group=10&gblog=3



2.   ท่าเรือขนส่งผู้โดยสารข้ามฝาก คือ ท่าเรือที่ขนส่งผู้โดยสาร  หรือข้ามฝากจากฝั่งไทยไปพม่า  และจากพม่ามาไทย  ยกตัวอย่าง  ท่าซึ่งเป็นท่าที่ใช้ในโดยสารข้ามฝากและรวมกับการขนส่งสินค้าข้ามฝากด้วย

         ซึ่งบางท่าเรือก็เป็นทั้งขนส่งสินค้ารวมทั้งขนส่งผู้โดยสาร   ซึ่งแต่ละท่าเรือก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งานของเจ้าท่าเรือ   และความพึงพอใจของเจ้าของท่าเรือด้วย  ในแต่ละท่าเรือก็จะมีเรือประจำท่า 3-10ลำ เรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้าและข้ามฝากในการโดยสารจะเป็นเรือท้องแบนเช่นกัน   เนื่องจากว่าระดับแม่น้ำเมยลึกเพียง 1 ฟุต

เรือท้องแบน
ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dhamma-dd&month=12-2009&date=17&group=10&gblog=3


จัดทำโดย
นางสาว  ขณิศรา  ทองคงอยู่   รหัสนิสิต  54147010051
สาขาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม  คณะวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

5 ความคิดเห็น:

  1. เจ๋งอ่ะ เราอยู่แม่สอดมาตั้งนานไม่รู้ว่ามีท่าเยอะแบบนี้ สมัยก่อนเคยนั่งเรือท้องแบนไปค้าขายกับพม่า ที่จอดเรือก็ตรงสะพานในปัจจุบัน เดียวนี้แม่น้ำเมยเหมือนจะเปลี่ยนทิศทาง กอปกับช่วงหน้าแล้งน้ำก็แห้งขอด จำได้สมัยเด็กๆ ก็สามสิบปีมาแล้วยังเคยลงเล่นน้ำเมย ถามว่าตอนนี้กล้าลงไหม ไม่กล้าอ่ะ สิ่งปฎิกุลเยอะ ดีน่ะที่น้ำท่วมครั้งใหญ่ได้เก็บกวาดเอาไปเกือบหมด นี่แหละน้าที่เค้าเรียกว่าธรรมชาติ มันย่อมมีการจัดการด้วยตัวของมันเอง...

    ตอบลบ
  2. เคยเห็นจักรยานมือสองจากญี่ปุ่นมาขายที่นครสวรรค์เหมือนกันค่ะ ขายแพงมากด้วย ไม่รู้นะค่ะว่าราคาที่นั้นคันละแค่ประมาณ สองถึงสามพันบาทเอง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ค่ะราคาไม่แพง แต่ถ้าต่อรองเก่งก็สามารถได้ราคาที่ถูกมากนะคะ มาแม่สอดเมื่อไหร่ก็มาแวะเที่ยวได้ค่ะ

      ลบ
    2. มีรองเท้าแบนเนมมือ2ไหมค่ะ สนใจค่ะ

      ลบ
  3. อยากทราบว่าแต่ละท่าขนส่งสินค้าอะไรค่ะ
    ถูกกฏหมายมีกี่ท่า ไม่ถูกกฏหมายมีกี่ท่า
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ