วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ในอนาคต 5-10ปี รถมือ2จากญี่ปุ่นที่ส่งมาขายในพม่าจะถึงจุดอิ่มตัว…?


ในอนาคต 5-10ปี รถมือ2จากญี่ปุ่นที่ส่งมาขายในพม่าจะถึงจุดอิ่มตัว…?


ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของประเทศพม่าเองที่สั่งยานพาหนะมาเป็นช่วงๆเข้าในประเทศพม่า   และก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของประเทศพม่าด้วยที่ไม่รับจดทะเบียนรถ  เพราะอาจจะมีสาเหตุว่ารถชนิดนั้นอาจจะเต็มแล้วในประเทศพม่า  ดังนั้นประเทศพม่าก็ไม่รับจดทะเบียนรถชนิดนั้น  ยกตัวอย่างเช่น  กรณีรถตู้ที่จะเปิดให้ช่วงหนึ่งให้อนุญาตเข้าไปได้  เพราะว่าประเทศพม่าจะทำการจดทะเบียนรถตู้ในประเทศพม่าเอง  ซึ่งมีอีกช่วงหนึ่งก็จะเต็มแล้ว  รถตู้ที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่นชนิดนั้น  ก็จะน้อยลงโดยสังเกตจากคลังที่เก็บสินค้าที่จะเห็นรถจอดน้อยลงเช่นกัน



จัดทำโดย
นางสาว  ขณิศรา  ทองคงอยู่   รหัสนิสิต  54147010051
สาขาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม  คณะวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ช่วงระยะเวลาใดที่คึกคัก ณ ท่าเรือ



ช่วงระยะเวลาใดที่คึกคัก ณ ท่าเรือ



สำหรับช่วงระยะเวลาที่คึกคักมากที่สุด คือ ในช่วงฤดูของการท่องเที่ยวอย่างฤดูหนาวและฤดูร้อน  จะมีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ  เชียงใหม่  อ่างทอง  นครสวรรค์ และทางภาคใต้ของประเทศไทย  ได้เข้ามาซื้อสินค้าที่ท่าเรืออย่างจักรยานมือสองจากญี่ปุ่นกันมากที่สุด  นักท่องเที่ยวบางท่านก็ซื้อกลับบ้าน1-3 คันก็มี   บางท่านก็ซื้อไปเต็มลำรถเพื่อจะนำไปขายต่อ   ซึ่งในกรณีที่ซื้อไปเต็มลำรถอย่างนี้   ก็จะได้ราคาที่ถูกลงมากซึ่งตกคันละประมาณ 400 บาท   ราคาปกติก็จะเริ่มที่ 900 บาท   ซึ่งจะนำไปขายกรุงเทพฯ เชียงใหม่   สุพรรณบุรี   และทางภาคใต้ของประเทศไทย   ที่ทำให้รายได้ของแม่สอดเพิ่มขึ้นจากการเลือกซื้อจักรยานมือสองจากญี่ปุ่น   ที่เหล่านักท่องเที่ยวได้มาซื้อกันมาก


จักรยานญี่ปุ่น
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/region/300385
อีกทั้งทุกวันพุของสัปดาห์ก็จะมีการเปิดตู้สินค้า  ดังนั้นใครที่ต้องการที่จะซื้อสินค้าที่เข้ามาใหม่   ก็สามารถมาได้ทุกวันพุธที่ท่าเรือนะคะ  ยกตัวอย่างเช่น  ท่า9 ณ ร้านขายของเบ็ดเตล็ด 

ภาพบรรยากาศเวลาการซื้อจักรยาน
ที่มา  http://www.thairath.co.th/content/region/300385

จัดทำโดย
นางสาว  ขณิศรา  ทองคงอยู่   รหัสนิสิต  54147010051
สาขาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม  คณะวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สินค้าที่อยู่ที่ท่าเรือนั้นมาจากไหน…?


สินค้าที่อยู่ที่ท่าเรือนั้นมาจากไหน…?

จะเห็นได้ว่าในท่าเรือแต่ละท่า  หรือในแต่ละคลังเก็บสินค้าเราจะเห็นได้ว่าทั้งรถยนต์  และรถจักรยานที่จอดกันเป็นจำนวนมากเทียบเท่ากองขยะนั้น   จะมาจากประเทศญี่ปุ่นโดยการขนส่งทางเรือบรรทุกสินค้า  มาจอดเทียบท่าที่ประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง  หลังจากนั้นก็นำตู้เก็บสินค้าขึ้นรถบรรทุกแล้วขับรถมายังท่าเรือต่างๆ ที่นครแม่สอด


การบรรทุกสินค้าโดยใช้ตู้เก็บสินค้ามานครแม่สอด

สินค้าที่ท่าเรือ คือ สินค้าที่จะเก็บในคลังสินค้า  เพื่อที่จะรอในการนำสินค้าไปส่งยังประเทศที่สามนั้นก็คือประเทศพม่านั้นเอง   และรอเพื่อที่จะเสียภาษีเข้ามาใช้ในประเทศไทย  ซึ่งสินค้าบางส่วนคนไทยก็สามารถซื้อแล้วนำมาใช้ในประเทศไทยได้  และสินค้าบางส่วนคนไทยก็ไม่สามารถซื้อแล้วนำมาใช้ได้ในประเทศไทยได้  เนื่องจากว่าเป็นสินค้าที่ต้องส่งไปประเทศที่สาม หรือส่งไปยังประเทศพม่านั้นเอง  และสินค้าที่เราคนไทยสามารถซื้อได้นั้น  ทางเจ้าของท่าบางท่าก็ได้จัดแบ่งพื้นที่ไว้ให้สำหรับเลือกซื้อ  บางท่าเรือก็ไม่อนุญาติให้เข้าไปและไม่มีสินค้าไว้ให้ขายด้วย

สินค้าที่คนไทยสามารถซื้อแล้วนำมาใช้ในประเทศไทยได้  คือ  จักรยานญี่ปุ่นทั้งมียี่ห้อและไม่มียี่ห้ออาทิเช่น  HUMMER  CHEVROLET  GIANT Bridgestone  แต่ก็จะมีการเสียภาษีจักรยานด้วย  คันละ 250บาท   ซึ่งกรณีนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ทางท่าเรือแบ่งพื้นที่กับการเสียภาษีและไม่เสียภาษีไว้  บางท่าเรือผู้ซื้อและผู้ขายที่จะตกลงว่าใครจะเป็นผู้เสียภาษี  ส่วนมากจะมีจักรยานเยอะที่ท่า7  ท่า9  ราคาที่ท่า7 จะถูกว่าท่า9  ไปประมาณ 200-400บาท  หลังจากที่ได้เดินสอบถาม  ซึ่งสองท่านี้ก็จะมีจักรยานเยอะเป็นพิเศษ  ถ้าหากนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะไปซื้อจักยาน   ก็สามารถซื้อได้ในตัวเมืองนครแม่สอดได้เลย   เพราะได้ทำการเสียภาษีไว้แล้ว  แต่ถ้าหากต้องการเลือกดูจักรยานเยอะๆ  ก็สามารถไปที่ท่าเรือได้  ยกตัวอย่าง ท่า7  ท่า9 ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปซื้อได้ เป็นต้น ซึ่งจะอยู่ใกล้ๆวัดท่าอาจหรือใกล้โรงเรียนบ้านท่าอาจ  รองเท้าบุรุษ  รองเท้าสตรี  กระเป๋าต่างๆ อาทิเช่น กระเป๋าเดินทาง  กระเป๋ากีตาร์  กระเป๋าหนัง  ชุดไดรฟ์กอล์ฟ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เครื่องออกกำลังกาย  เสื้อผ้ามือสอง  อุปกรณ์ตกปลา  ตุ๊กตา-ของเล่น  รถเข็นเด็ก  อุปกรณ์กีฬา  อาทิเช่น ไม้เทนนิส  ลูกเทนนิส   ไม้แบดมินตัน ชุดอุปกรณ์เครื่องครัว  อาทิเช่น  ถ้วย ชาม แก้ว ชุดชงชา นาฬิกาข้อมือทั้งมีBrand nameและไม่มีBrand name อาทิเช่น  นาฬิกามาจาก Swiss Japan china  มีหลายBrand อาทิเช่น  Brand Swiss-made  Casio  Seiko  Omega  Richemont  Rolex  ก็จะมีวางจำหน่ายให้เลือกซื้ออย่างมากมาย  ให้เหล่าคนชอบนาฬิกาได้เลือกซื้อกันในราคาที่ไม่แพง   อย่าลืมนะคะว่าสินค้าเหล่านี้เป็นของมือสองจากประเทศญี่ปุ่น  แต่สภาพก็ดีใช่ได้ในระดับหนึ่งเลย  ซึ่งสินค้าเหล่านี้ทางท่าเรือบางท่าเรือก็จะจัดแบ่งพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเลือกซื้อกันได้ค่ะ


เคล็ดลับการเลือกซื้อนาฬิกา
1.    เลือกที่เราชอบ
2.    ดูสภาพของนาฬิกาว่าดีหรือไม่ดี
3.    ถ้าหากว่าเป็นคนติดBrand name ก็อย่าลืมดูด้วย  เพราะบางครั้งก็จะได้ของดีกลับบ้านในราคาถูก  และบางครั้งก็ได้ของไม่ดีกลับบ้านไปในราคาแพง 
4.    ดังนั้นใจเย็นๆ ในการเลือกนะคะ  ซึ่งส่วนมากราคา จะเริ่มที่ 300-10,000บาทก็มี 
5.    ต่อรองราคาด้วย  แต่หากเราซื้อมากกว่า 1เรือน ขึ้นไปก็สามารถต่อรองราคาได้

ภาพตัวอย่าง สินค้าที่คนไทยสามารถซื้อแล้วนำมาใช้ในประเทศไทยได้
ภาพดังต่อไปนี้คือ ภาพจักรยานที่ก่อนถ่ายภาพ  ผู้ถ่ายได้ขออนุญาตเจ้าของร้านเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งทางเจ้าของร้านก็ได้อนุญาตให้ถ่ายภาพ  เนื่องจากว่าท่าเรือคือพื้นที่ส่วนบุคคลห้ามถ่ายภาพ 


จักรยานมือสองจากญี่ปุ่น






 จักรยานมือสองจากญี่ปุ่น ของ HUMMER ราคาประมาณ 4,500บาท 






จักรยานมือสองจากญี่ปุ่น ของ GIANT ราคาประมาณ 6,000บาท 








จักรยานพับได้มือถือสองจากญี่ปุ่น ของ HUMMER  เบาๆ กับราคาประมาณ 2,900บาท


สำหรับคันนี้ลายมันคลาสิกค่ะ  เพราะตัวตัวมันเป็นอักษรเหมือนหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น

ชุดไดรฟ์กอล์ฟ 

สินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป


สินค้าที่คนไทยไม่สามารถซื้อแล้วไม่สามารถนำมาใช้ได้ในประเทศไทย คือ หลักๆเลยก็จะเป็นรถยนต์มือสองและรถมอเตอร์ไซด์มือสองจากญี่ปุ่น  เนื่องจากว่าคนไทยไม่สามารถซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นได้  ก็เพราะว่าในด้านมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม  อีกทั้งเป็นรถที่ใช้แล้ว และนโยบายของประเทศไทยก็ไม่อนุญาตให้รถเก่าเข้ามาขายในประเทศไทย  และมีการคุ้มครองธุรกิจรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยที่มีแหล่งผลิตในประเทศไทย  เครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ อะไหล่บางรุ่นไม่มี  ภาษีตั้งสูงถ้าหากคนไทยต้องการซื้อก็จะเสียภาษี 300-400 เปอร์เซ็นต์/รถ1คัน   เป็นสินค้าที่น่าสนใจแต่คนไทยซื้อไม่ได้   เพียงได้แต่มองอย่างเดียว (หมดสิทธิค่ะ)
 รถยนต์มือสองจากญี่่ปุ่น

 รถยนต์มือสองจากญี่่ปุ่น(Mini cooper)

ทำไมจักรยานมือสองจากญี่ปุ่น  ซื้อได้…?
1.    เนื้อจากไม่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่

จัดทำโดย
นางสาว  ขณิศรา  ทองคงอยู่   รหัสนิสิต  54147010051
สาขาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม  คณะวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ทำไมต้องมีหน่วยงานทางภาครัฐเข้าไปเกี่ยว…?


ทำไมต้องมีหน่วยงานทางภาครัฐเข้าไปเกี่ยว…?
เมื่อเวลาเดินไปในท่าเรือแต่ละท่าทำไมนักท่องเที่ยวถึงเห็นเจ้าหน้าที่ศุกากร  ทหาร  ตำวจตรวจคนเข้าเมือง  ตำรวจตระเวนชายแดน  ตำรวจ  เจ้าหน้าที่ภาครัฐเหล่านี้เขาไปทำอะไรกัน  ก็สามารถศึกษารายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
ในพื้นที่อาณาเขตบริเวณของท่าเรือก็จะมีหลายหน่วยด้วยกัน เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน  ตำรวจ   ทหาร   ศุลกากร  ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง  เพื่อความเป็นระบบระเบียบด้วยอีกส่วนหนึ่ง  แต่ก็เป็นเรื่องของระหว่างประเทศ   เพราะกลัวว่าจะมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างทั้งสองประเทศไทยกับประเทศพม่า   ซึ่งมันก็เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  อาทิเช่น  กรณีคนร้ายหนีข้ามฝั่ง  หรือช่วงที่มีการลุกล้ำเขตแดน  เกิดเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยก็จะมีหน่วยงานความมั่นคงอย่างทหาร ตำรวจ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็จะเข้ามาดูแล   หรือทำการสั่งชะลอในการเปิด-ปิดท่าเรือ   อีกทั้งในการสั่งการชะลอหรือทำการปิดท่าเรือก็ส่งผลกระทบ   เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจ   แต่อย่างไรเสียก็ต้องชั่งน้ำหนักของเศรษฐกิจกับชีวิตทรัพย์สิน   

กตัวอย่าง  กรณีทหารกะเหรี่ยงปะทะพม่า ระเบิดตกฝั่งไทยเจ็บหลายราย กระสุนปืนได้ตกที่บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้างป้อมตำรวจ 407 และที่บริเวณ หลังด่านศุลกากรแม่สอด จำนวน 1 ลูก รวมทั้งตามท่าเรือขนส่งสินค้า ริมแม่น้ำเมย กองกำลังจากฝั่งพม่า ใช้อาวุธปืนหนัก ยิงเข้าใส่ฝั่งประเทศไทย จำนวนหลายลูก ทำให้มีคนไทยได้รับบาดเจ็บ โดยกระสุนปืนได้ตกที่บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้างป้อมตำรวจ 407 และที่บริเวณ หลังด่านศุลกากรแม่สอด จำนวน 1 ลูก รวมทั้งตามท่าเรือขนส่งสินค้า ริมแม่น้ำเมย เจ้าหน้านำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่งโรงพยาบาลแม่สอด เรียบร้อยแล้ว และล่าสุดได้มีการยิงปะทะกันด้วยอาวุธปืนเล็กยาวประจำกาย เสียงปืนดังเป็นระยะ ๆ และต่อเนื่อง และที่ท่าเรือขนส่งสินค้า ท่า 16 ได้มีผู้อพยพชาวพม่า หลบหนีข้ามแม่น้ำเมย เข้ามาฝั่งไทยจำนวนมาก นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้สั่งปิดถนนเข้าชายแดน-ท่าเรือและอพยพคนไทย ออกมาจากพื้นที่ชายแดน (INN. 2553: ออนไลน์)

RPG จากพม่าตกฝั่งไทย เจ็บหลายราย

ภาพเหตุการณ์ทหารกะเหรี่ยงปะทะพม่า
ที่มา http://news.sanook.com/979881/RPG-

กิจกรรมที่นท่าเรือ
1.    จ้ของท่า  จะเป็นผู้รับเรือยนต์ในการผ่านหรือ เข้า-ออกท่าเรือ และเก็บค่าบริการในการผ่าน
2.   นัท่องเที่ยว ต่างก็เดินซื้อสินค้าอย่างรถจักรยานมือสองจากญี่ปุ่นทั้งคันเล็กคันใหญ่ เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า  และเครื่องใช้ต่างๆที่เป็นมือสองจากญี่ปุ่น
3.   ข้ามฝาก  ผู้โดยสารที่นั่งเรือเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าโดยการนั่งโดยสารทางเรือ



จัดทำโดย
นางสาว  ขณิศรา  ทองคงอยู่   รหัสนิสิต  54147010051
สาขาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม  คณะวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ท่าเรือของนครแม่สอด


ท่าเรือนครแม่สอด

เมื่อได้ทราบความหมายของท่าเรือที่แท้จริงแล้ว   หลายท่านคงสงสัยเลยว่าแล้วท่าเรือของนครแม่สอดนี้  มีความเป็นมาและลักษณะอย่างไร  เพราะหลายคนคงต้องจินตนาการว่า  ท่าเรือต้องใหญ่มาก  น้ำต้องลึกเหมาะสำหรับเรือบรรทุกสินค้าล่องเรือได้  หรือเป็นแค่ท่าเรือที่ใช้ในการรับ-ส่งคนในการข้ามฝั่งเท่านั้นเองหรือไม่   

ในสมัยอดีตช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ   ได้เข้ามาปกครองประเทศพม่านั้นมีความเจริญอย่างมากมาย  ทั้งด้านการค้าขายสินค้าในการอุปโภคบริโภคที่มีพร้อมในเมียวดี   ซึ่งสินค้าก็ได้ถูกนำมาจากประเทศอังกฤษนำเข้าสู่อินเดียและพม่าเพื่อนำมาขาย   และช่วงนั้นเองก็มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศอังกฤษอีกด้วย   ในช่วงเวลาขณะนั้นเองแม่สอดของเราเป็นเมืองเล็กๆ ที่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดตากมาก  เมื่อต้องการที่จะซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ก็ะข้ามแม่น้ำเมย(ข้ามท่า)ไปยังประเทศพม่า เมืองเมียวดีกันเป็นส่วนมาก   เนื่องจากว่าในสมัยอดีตระยะทางจากแม่สอดไปจังหวัดตาก   เส้นทางการคมนาคมลำบากไม่สะดวกไม่มีถนนหนทางที่ดี   ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 2 วัน  อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นไข้ป่าแล้วเสียชีวิตขณะการเดินทาง   เพราะเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางไปจังหวัดตากเข้าสู่ตัวเมืองนั้นเป็นป่าอันตราย  ดังนั้นคนแม่สอดจึงเลือกที่จะไปซื้อสินค้าที่ประเทศพม่า เมืองเมียวดีมากกว่า   เพราะระยะทางในการเดินทางมันใกล้และสะดวก  อีกทั้งสินค้าก็มีให้เลือกอย่างมากมายที่นำมาจากอังกฤษกับอินเดีย
ต่อมาก็ได้เริ่มมีการค้าขายริมท่า โดยให้มีการค้าขายสินค้านั่งขายอยู่ริมแม่น้ำเมย(ริมท่า)เท่านั้น   ซึ่งไม่ต้องเข้ามาขายในตัวเมืองแม่สอดอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้ตามท้องตลาด  ยกตัวอย่างเช่น  ตลอดสดพาเจริญ   ที่เราสามารถสังเกตเห็นคนพม่าเข้ามาขายของในตัวเมืองแม่สอดอย่างมากล้น  ในสมัยอดีตที่มีการค้าขายริมท่าก็จะมีกฎระเบียบเวลาการขายที่ชัดเจน   มีการควบคุมดูแลของตำรวจตระเวนชายแดนที่เข้มงวด   มีการชั่งวัดน้ำหนักเป็น  ปัน  และชั่ง  ซึ่งเป็นหน่วยวัดของพม่า  ซึ่งจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์การขายค้าริมท่าหรือการค้าขายทางท่าเรือ   ได้มีมายาวนานแล้วจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการค้าขายทางท่าเรือมากไม่น้อยกว่าเดิม 
  

ท่าเรือของนครแม่สอด คือ ท่าที่ใช้ในการข้ามไปมาระหว่างประเทศไทย นครแม่สอดกับประเทศพม่า จังหวัดเมียวดี  เป็นสถานที่ใช้ในการถ่ายลำของสินค้าและพักสินค้า  ท่าเรือของนครแม่สอดมีท่าเรือประจำ16  ท่าเรือ  มีท่าเรือไม่ประจำมี 5-6 ท่าเรือ ส่วนท่าเรือใหญ่ๆ ที่จะมีสินค้าข้ามประจำ 22 ท่าเรือ  ท่าเรือเล็กๆ คือ ท่าเรือที่ไม่ประจำจะมี 30-40 ท่าเรือ จะมีเริ่มตั้งแต่เขตจังหวัดตาก  อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด  อำเภอพบพระ  อำเภออุ้มผาง จนถึงอำเภอท่าสองยาง   ซึ่งท่าเรือก็มีด้วยกันได้ 2 ลักษณะ คือ   
1. ท่าเรือขนส่งสินค้า

            2. ท่าเรือขนส่งผู้โดยสารข้ามฝาก

1.   ท่าเรือขนส่งสินค้า คือ  ท่าเรือที่ส่งสินค้าจากฝั่งประเทศไทยไปยังพม่า  และเป็นท่าเรือที่รับสินค้าจากฝั่งพม่าเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน ยกตัวอย่าง  ท่า16  ท่า9 ท่า8 จะเป็นท่าที่มีการขนส่งสินค้าอย่างคึกคัก


ท่าเรือขนส่งสินค้า  ท่า19
ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dhamma-dd&month=12-2009&date=17&group=10&gblog=3



ท่าเรือขนส่งสินค้า  ท่า19
ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dhamma-dd&month=12-2009&date=17&group=10&gblog=3



2.   ท่าเรือขนส่งผู้โดยสารข้ามฝาก คือ ท่าเรือที่ขนส่งผู้โดยสาร  หรือข้ามฝากจากฝั่งไทยไปพม่า  และจากพม่ามาไทย  ยกตัวอย่าง  ท่าซึ่งเป็นท่าที่ใช้ในโดยสารข้ามฝากและรวมกับการขนส่งสินค้าข้ามฝากด้วย

         ซึ่งบางท่าเรือก็เป็นทั้งขนส่งสินค้ารวมทั้งขนส่งผู้โดยสาร   ซึ่งแต่ละท่าเรือก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งานของเจ้าท่าเรือ   และความพึงพอใจของเจ้าของท่าเรือด้วย  ในแต่ละท่าเรือก็จะมีเรือประจำท่า 3-10ลำ เรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้าและข้ามฝากในการโดยสารจะเป็นเรือท้องแบนเช่นกัน   เนื่องจากว่าระดับแม่น้ำเมยลึกเพียง 1 ฟุต

เรือท้องแบน
ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dhamma-dd&month=12-2009&date=17&group=10&gblog=3


จัดทำโดย
นางสาว  ขณิศรา  ทองคงอยู่   รหัสนิสิต  54147010051
สาขาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม  คณะวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ